วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559


สรุป วิจัย


ชื่อวิจัย การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์
ของ
ชยุดา พยุงวงษ์

ความมุ่งหมายของการวิจัย

        ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยแยกเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
        1.เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการ
จัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
        2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการ
เรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองและหลังทดลอง

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
        การศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ในการที่จะ
จัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยซึ่งเป็นรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นสำ คัญมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เพื่อสามารถนำมาพัฒนาทักษะกระบวนการ
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย รวมทั้งการพัฒนาทักษะพื้นฐานอื่นๆของเด็กปฐมวัยต่อไป

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
       ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
       ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สำกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 156 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
       1. ตัวแปรจัดกระทำ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
       2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้
            2.1 ทักษะการสังเกต
            2.2 ทักษะการจำแนกประเภท
            2.3 ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
            2.4 ทักษะการลงความเห็น

            2.5 ทักษะการพยากรณ์
ตัวอย่างการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเรื่อง : ไข่
จุดประสงค์
        1. เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
           - ทักษะการสังเกต
           - ทักษะการจำแนกประเภท
           - ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
           - ทักษะการลงความเห็น
           - ทักษะการพยากรณ์
       2. เพื่อให้เด็กศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้
       3. เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้

เนื้อหา
        ไข่มีหลายประเภท มีประโยชน์ต่อร่างกาย เรานำไข่มาทำอาหารได้มากมายหลายชนิด
หลายวิธี อีกทั้งยังนำมาแปรรูปเพื่อเก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
        ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ
ครูศึกษาความต้องการของผู้เรียนโดยการสนทนา ซักถาม หัวข้อเนื้อหาที่เด็กสนใจและให้
เด็กเล่าประสบการณ์เดิมของตนเองที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “ไข่”
       ขั้นที่ 2 ขั้นเด็กค้นคว้าหาความรู้
เด็กศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ได้แก่ ศึกษาของจริงจากไข่ประเภทต่างๆ ศึกษาจากหนังสือที่มี
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับไข่ และ ศึกษาวิธีการทำไข่เค็มจากวิทยากรรับเชิญ ระหว่างศึกษาแหล่งเรียนรู้เด็กร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซักถามและตอบคำถาม จากนั้นเด็กคิดและทำกิจกรรมตามความสนใจของตนเองพร้อมทั้งนำเสนอผลงาน
      ขั้นที่ 3 ขั้นการประเมินผล
เด็กพูดคุยสนทนาสรุปเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ในเรื่องไข่และวาดรูปสรุปเรื่องราวที่ตนเองได้
เรียนรู้ ครูสังเกตพฤติกรรม พูดคุย การทำผลงานและการนำเสนอผลงานของเด็ก
การประเมินผล
       1. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
       2. สังเกตการณ์ตั้งคำถามและตอบคำถาม
       3. สังเกตการณ์พูดคุยสนทนา






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น