วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันจันทร์ ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

ไม่มีการเรียนการสอนเพราะเป็นสัปดาห์สอบ

                                           
 
การบันทึกครั้งที่ 6
วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559
 

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
     - ก่อนจะเริ่มเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกคัดลายมือเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเคยชิน เพื่อจะนำไปใช้ในอนาคตต่อไป






- นำเสนอของเล่นสิ่งประดิษฐ์

  • ว่าว
  • แตร๋
  • รถลูกโปร่ง
  • ปี๋หลอด
  • หลอดเลี้ยงลูกบอล  
  • เครื่องดูดจอมกวน
  • ไก่กระต๊าก
  • พายุโทนะโด
  • เหวี่ยงมหาสนุก
  • ทะเลในขวดน้ำ
  • รถของเล่น
  • รถแม่เหล็ก
  • ที่ยิงบอลไม้ไอติม
  • ร่มชูชีพ
  • ลูกข่าง
  • กระดานลูกแก้ว
  • ธนูจากไม้ไอติม
  • ตุ๊กตาล้มลุก
  • ปลาว่ายน้ำ
  • วงล้อหลากสี
  • แว่นสามมิติ
  • นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ



   - กิจกรรมต่อมาอาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น แล้วทาบลงมือที่กระดาษ วาดรูปมือตัวเอง และก็ใช้ปากกาเมจิกวาดเส้นโคร้งตามรูปมือตัวเองสับสีกัน ภาพก็จะออกมาเป็นแบบนี้






- การทดลองวิทยาศาสตร์เรื่องการไหลเวียนของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ









- อาจารย์ให้พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมแล้วตัดเป็นรูปดอกไม้แล้วนำไปลอยน้ำแล้วสังเกตดูดอกไม้ของตัวเองจะเกิดปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง
สาเหตุ เกิดจากน้ำเข้าไปแทรกตามช่องว่างของกระดาษทำให้กระดาษออ่นตัวจึงเกิดการคลี่ตัวออก






- กิจกรรมต่อ เพื่อนนำเสนองานประดิษฐ์เป็นกลุ่ม


กลุ่มที่ 1 กล่องพิศวง


กลุ่มที่ 2  กล้องเพอริสโคป


กลุ่มที่ 3 กล้องสะท้อน


กลุ่มที่ 4 ตกสัตว์ทะเล


กลุ่มที่ 5 ไฟฉายหลากสี


กลุ่มที่ 6 ลูกกลิ้งหกคเมน



การนำมาประยุกต์ใช้
- สามารถนำวิธีการสอนนี่มาใช้ในอนาคตได้

บรรยากาศในห้องเรียน
- โต๊ะ เก้าอี้ เพียงพอต่อนักศึกษา ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย แอร์เย็น

การจัดการเรียนการสอน
- มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้มีวิธีการคิดในสิ่งที่เคยเรียนผ่านมา และสามารถแก้ปัญหาได้เฉพาะหน้าด้วย

ประเมินตนเอง
- ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์อธิบายและร่วมทำกิจกรรมอย่างดี

ประเมินเพื่อน
- มีความตั้งเรียน และฟังในสิ่งที่อาจารย์อธิบายและสอนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
- แต่งกายเรียบร้อย น้ำเสียงในการพูดเสียงดังฟังชัด


วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559


สรุป บทความ
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


      วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ  3 – 6  ขวบ  มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา  เคมี  กลศาสตร์  แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้ การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย 
ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ  เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต  ค้นหา  ให้เหตุผล  หรือทดลองด้วยตนเอง  ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  การสังเกต  การค้นคว้าหาคำตอบ  การให้เหตุผล


     การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ดร.ดินา  สตาเคิล  (Dina  Stachel)  ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ  ประเทศอิสราเอล  ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น  เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน  รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์  สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้  (สตาเคิล,  2542  :  12)

                        หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว

                        หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้

                        หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง


                        หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท

      ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง  4  หน่วยดังกล่าว  เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  ทักษะการสังเกต  การจำแนกประเภท  การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์  แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ  ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้  หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก



สรุป วิจัย


ชื่อวิจัย การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์
ของ
ชยุดา พยุงวงษ์

ความมุ่งหมายของการวิจัย

        ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยแยกเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
        1.เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการ
จัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
        2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการ
เรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองและหลังทดลอง

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
        การศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ในการที่จะ
จัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยซึ่งเป็นรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นสำ คัญมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เพื่อสามารถนำมาพัฒนาทักษะกระบวนการ
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย รวมทั้งการพัฒนาทักษะพื้นฐานอื่นๆของเด็กปฐมวัยต่อไป

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
       ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
       ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สำกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 156 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
       1. ตัวแปรจัดกระทำ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
       2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้
            2.1 ทักษะการสังเกต
            2.2 ทักษะการจำแนกประเภท
            2.3 ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
            2.4 ทักษะการลงความเห็น

            2.5 ทักษะการพยากรณ์
ตัวอย่างการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเรื่อง : ไข่
จุดประสงค์
        1. เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
           - ทักษะการสังเกต
           - ทักษะการจำแนกประเภท
           - ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
           - ทักษะการลงความเห็น
           - ทักษะการพยากรณ์
       2. เพื่อให้เด็กศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้
       3. เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้

เนื้อหา
        ไข่มีหลายประเภท มีประโยชน์ต่อร่างกาย เรานำไข่มาทำอาหารได้มากมายหลายชนิด
หลายวิธี อีกทั้งยังนำมาแปรรูปเพื่อเก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
        ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ
ครูศึกษาความต้องการของผู้เรียนโดยการสนทนา ซักถาม หัวข้อเนื้อหาที่เด็กสนใจและให้
เด็กเล่าประสบการณ์เดิมของตนเองที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “ไข่”
       ขั้นที่ 2 ขั้นเด็กค้นคว้าหาความรู้
เด็กศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ได้แก่ ศึกษาของจริงจากไข่ประเภทต่างๆ ศึกษาจากหนังสือที่มี
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับไข่ และ ศึกษาวิธีการทำไข่เค็มจากวิทยากรรับเชิญ ระหว่างศึกษาแหล่งเรียนรู้เด็กร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซักถามและตอบคำถาม จากนั้นเด็กคิดและทำกิจกรรมตามความสนใจของตนเองพร้อมทั้งนำเสนอผลงาน
      ขั้นที่ 3 ขั้นการประเมินผล
เด็กพูดคุยสนทนาสรุปเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ในเรื่องไข่และวาดรูปสรุปเรื่องราวที่ตนเองได้
เรียนรู้ ครูสังเกตพฤติกรรม พูดคุย การทำผลงานและการนำเสนอผลงานของเด็ก
การประเมินผล
       1. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
       2. สังเกตการณ์ตั้งคำถามและตอบคำถาม
       3. สังเกตการณ์พูดคุยสนทนา








การบันทึกครั้งที่ 5
วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

    - ก่อนจะเริ่มเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกคัดลายมือเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเคยชิน เพื่อจะนำไปใช้ในอนาคตต่อไป




  - ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาดูของเล่นของรุ่นพี่ เพื่อเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่




เรียนเนื้อหาเรื่อง " กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย "


     - จากนั้นอาจารย์ก็ให้ออกไปมองที่กระจกว่าเห็นรูปเป็นแบบ และยิ่งเราทำกระจกให้เล็กลงยิ่งจะเห็นภาพเยอะมากขึ้น อย่างที่เห็นในภาพนี่เลยค่ะ








          - และต่อไปจะเป็นภาพสองหน้า คือแบบไหน ไปดูกะค่ะ





               - และจะเป็นภาพหมุน ยิ่งถ้าหมุนเร็วเราจะเห็นภาพเป็นอีกแบบ






การนำมาประยุกต์ใช้
- สามารถนำวิธีการสอนนี่มาใช้ในอนาคตได้

บรรยากาศในห้องเรียน
- โต๊ะ เก้าอี้ เพียงพอต่อนักศึกษา ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย แอร์เย็น

การจัดการเรียนการสอน
- มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้มีวิธีการคิดในสิ่งที่เคยเรียนผ่านมา และสามารถแก้ปัญหาได้เฉพาะหน้าด้วย

ประเมินตนเอง
- ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์อธิบายและร่วมทำกิจกรรมอย่างดี

ประเมินเพื่อน
- มีความตั้งเรียน และฟังในสิ่งที่อาจารย์อธิบายและสอนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
- แต่งกายเรียบร้อย น้ำเสียงในการพูดเสียงดังฟังชัด